ต้องเจริญสติไปถึงไหนมือใหม่จึงจะมั่นใจว่ามาถูกทาง? นี่คือข้อกังขาสามัญที่ต้องเกิดขึ้นกับมือใหม่ทุกคน ซึ่งผมก็เช่นกันตัดมาจากวารสารบ้านอารีย์ ที่อ่านแล้วรู้สึกอยากแบ่งปันขึ้นมาทันทีเลยค่ะ เพราะเห็นว่าเป็นคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่ายมากจริง โชคดีมากมากที่คุณดังตฤณ หรือ @dungtrin แห่งโลก Twitter ได้เขียนไว้ใน Dungtrin's Secret
บนเส้นทางสายนี้ คุณจะไม่รู้สึกมั่นใจจนกว่าจะมีใจมั่น นั่นคือจิตอยู่ในสภาพตั้งมั่นรู้ มากกว่าที่จะซัดส่ายคิดไปเรื่อย
ภาวะ ที่จิตฟุ้งซ่านซัดส่ายไปเรื่อยนั่นแหละ ต้นเหตุสำคัญของความไม่แน่ใจ แม้จะเกิดสติรู้เห็นกายใจบ้างแล้ว ก็เหมือนมีคลื่นรบกวน แทรกแซงความรู้เห็น ตลอดจนชะล้างความมั่นใจให้หายเกลี้ยงร่ำไป
ช่วงสามเดือนแรกของการฝึกตามตำรา คอยระลึกเท่าที่จะนึกได้ว่าตอนนี้กำลังหายใจออก ตอนนี้กำลังหายใจเข้า ผม ไม่มีความมั่นใจเลยว่ามาถูกทาง บางครั้งคัดแน่นอึดอัดไปหมด บางครั้งถามตัวเองว่านี่เรากำลังทำอะไรอยู่ บางครั้งสงสัยว่าจะต้องเห็นลมหายใจให้เป็นภาพหรือเอาแค่รู้ว่าหายใจ บางครั้งงงว่าต้องรู้เฉพาะจุดกระทบของลมตรงไหน ฯลฯ
ผม มีแต่ศรัทธาว่าทำตามพระพุทธเจ้าสอนเป็นหลักใจอย่างเดียว เรียกว่ามีความสว่างหนุนหลัง ที่เหลือในหัวเต็มไปด้วยความสงสัยคลางแคลง เรียกว่าเดินหน้าอยู่บนก้าวย่างที่เป๋ไปเป๋มาเกือบตลอด
อย่าง ไรก็ตาม ส่วนลึกมีความเชื่อว่าเราทำตามพระพุทธเจ้าสอน แล้วเราก็สังเกตไปเรื่อยๆว่าอย่างไหนก้าวหน้าอย่างไหนก้าวหลัง อย่างไหนเทียบเคียงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสได้ ก็น่าจะเป็นการเพียงพอ ผมไม่พยายามแสวงหาครูบาอาจารย์ อาจเป็นเพราะไม่รู้จะไปหาที่ไหน และสมัยนั้นสื่อประชาสัมพันธ์สถานฝึกกรรมฐานก็ไม่แพร่หลายเหมือนเดี๋ยวนี้
ผมมักนั่งหลับตาระลึกถึงลมหายใจเป็นชั่วโมง เพียงเพื่อตอนลืมตากลับ ‘รู้สึก’ ถึงลมหายใจเข้าออกได้แจ่มชัดกว่าเป็นไหนๆ หลายเดือนกว่าจะฉุกคิด พยายามใช้ปัญญาสำรวจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นไปได้
ผม จับสังเกตได้ทีละนิดทีละหน่อยว่าทุกครั้งเมื่อปิดตาลง จะเกิดอาการเล็งจิตเข้าไปที่จมูก หรือบางทีก็หว่างคิ้ว หรือบางทีก็ตรงกลางๆบริเวณส่วนที่กลวงๆในตัว ด้วยความคาดหวังว่าจะสงบลงทันใด เข้าใจว่าความคิดเป็นสิ่งบังคับให้สงบระงับกันได้
ส่วน ลมหายใจ ผมก็ไปสำคัญว่ามันต้องยาว ต้องลึกทุกครั้ง ถึงจะนับว่าดี ผลคือเกิดความอึดอัดคัดแน่น คับแคบตั้งแต่แรกเริ่มปิดตาตั้งใจทำสมาธิกันเลยทีเดียว
เทียบ กับตอนลืมตา สายตาผมจะแลไปตรงๆ ไม่โฟกัสที่จุดจุดหนึ่งข้างหน้า ทำให้จิตไม่เล็งสั้นๆแคบๆ มีความเปิดกว้างยิ่งกว่าตอนปิดตาเล็งจมูกเยอะ จากนั้นจึงนึกถึงลมหายใจเล่นๆ ไม่เอาจริงเอาจัง ไม่พยายามบังคับว่าต้องเลิกฟุ้งซ่านในทันที อีกทั้งไม่คาดหวังว่าลมจะต้องดี ต้องยาวท่าเดียว จุดเริ่มต้นจึงสบายใจกว่ากันเยอะ
ผม สังเกตต่อว่าพอสบายใจแล้วระลึกเท่าที่จะนึกออกว่า ลมหายใจกำลังเข้า ออก หรือหยุด แค่นั้นเอง เดี๋ยวก็กลายเป็นความเคยชิน แม้จะเหม่อลอยไปบ้าง ลมหายใจก็เหมือนปรากฏอยู่ในความรับรู้เอง ไม่ต้องเพ่งพยายามให้เหนื่อย
ต่อ มาผมอ่านจากหลายแห่ง พบว่ากล่าวไว้ตรงกันว่าหลักการทำสมาธิที่ถูกนั้น จะต้องได้ความรู้สึกเป็นสุข อิ่มใจ สบายตัว ไม่ใช่เป็นทุกข์ แห้งเหี่ยว เนื้อตัวแข็งกระด้างแต่อย่างใด จึงมั่นใจว่าการเริ่มต้นที่ดี ควรทำอย่างไรก็ได้ให้ห่างไกลจากความเคร่ง เพ่ง และเกร็ง
จับ หลักได้เช่นนั้น ผมก็สนุกกับการทำสมาธิมากขึ้น ไม่ดันทุรังนั่งหลับตาขัดสมาธินานๆ เมื่อใดมีโอกาสนั่งเก้าอี้ได้ก็เอาเลย จะอยู่ในห้องนอนหรือรอใครในที่สาธารณะก็ตาม ผมเริ่มด้วยการสำรวจสังเกตว่าฝ่าเท้างองุ้มไหม ถ้างุ้มหรือเกร็งอยู่ก็คลายออกเสีย วางเท้าแบราบกับพื้นอย่างสบาย
มัน ได้ผลทุกครั้ง พอฝ่าเท้าสบาย พื้นจิตพื้นใจก็พลอยสบายตาม แสดงให้เห็นชัดว่าอาการของฝ่าเท้าสะท้อนได้ว่าสภาพจิตของเราเครียดหรือสบาย อยู่ เมื่อทำให้เท้าสบาย จิตก็หายเครียดไปเยอะ
จาก นั้นจึงสำรวจว่าฝ่ามือผ่อนคลายหรือกำอยู่ ถ้ากำก็คลายเสีย ให้เกิดความรู้สึกผ่อนพักสบายไม่ต่างจากฝ่าเท้า และถึงที่สุด ผมสำรวจขั้นสุดท้ายว่าทั่วใบหน้าผ่อนคลาย หายขมวด หายตึงหรือยัง แค่สำรวจเฉยๆก็เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อทั้งใบหน้าคลายออกหมดได้
เมื่อ ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหน้าคลายจากความฝืนทั้งหมด อุปสรรคของสมาธิก็หายไป จิตเปิดกว้างสบาย พร้อมจะรู้ พร้อมจะดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับกายใจบ้างแล้ว คุณลองดูตอนนี้ก็จะเห็นจริงตอนนี้เลยเช่นเดียวกัน
การที่ได้มาเจอข้อความนี้รู้สึกได้ว่าการมาสวนสันติธรรมคราวนี้มีความคืบหน้าไปมากทีเดียว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้มา....
จากประสบการณ์ครั้งแรกที่เหมือนกับไม่อยากถามอะไรพระอาจารย์ปราโมทย์เลย กลัวท่านเหนื่อยกับคำถามของคนที่ไม่เคยฝึกอะไรมาเลย ท่านตอบมาเราก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี ก็คำถามที่สำคัญเลยก็คือแล้วเราจะรู้ได้ไงว่าจิตเราจะไปอยู่ตำแหน่งไหนในร่างกายอ่ะ ?(ไม่ถามซะดีกว่า)...แต่ยังโชคดีที่มีพี่เลี้ยง รวมทั้งพี่กรรณิการ์ (ได้รู้จักเพราะนั่งรถคันเดียวกันไป) พี่เค้าได้ปรึกษาพี่เลี้ยง และมีประโยคเด็ดที่ทำให้เราพัฒนาได้คือ ระหว่างที่พี่เค้ามีคำถามอยู่ในหัวมากมาย CD ของหลวงพ่อฯ ที่ได้ไปก็เยอะแยะ แต่แปลกมากตรงที่ทำไมเปิด CD ที่หยิบขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจ กลับตอบคำถามได้ตรงกับที่สงสัยได้หล่ะ ..., อีกครั้งที่ประสบกับความรู้สึกที่มันเห็นว่าตัวเราไม่ใช่ของเรา เหมือนเราไปยืนอยู่ข้างนอก แล้วเห็นตัวเรากำลังทำโน้นทำนี่อยู่ ... ซึ่งเป็นคำอธิบายที่มือใหม่อย่างเราได้เห็นแสงสว่างขึ้นมานิดนึงเชียวน่ะเนี่ย
มาถึงครั้งที่ 2 ก็ได้หยิบหนังสือประมวลธรรมเทศนาของพระอาจารย์มาอ่านดู อ๊ะ!!! เจอคำตอบของคำถามในหนังสือหน้านั้น เลยว่า การคิดว่าจิตอยู่ตรงไหน เช่นอยู่ที่ท้องของเรา จะทำให้เราไปบังคับ จับแน่น มัดเอาไว้ เราก็จะไม่สามารถแยกสภาวะจิตของเราแบบสบายๆ ได้อยู่ดี เรียกว่า ห้ามบังคับใดใดทั้งสิ้น และแถมยังได้ส่วนเสริมจากคุณดังตฤณอีกว่า ให้ใจเปิดกว้่าง ไม่เกร็ง หายใจไม่ต้องลึก ยิ่งเป็นคำอธิบายที่แจ่มชัดมากขึ้นอีก :D
วันนี้ได้ข้อปฏิบัติจากพระอาจารย์ที่สำคัญคือ "เราจะฝึกอะไรก็ให้หาให้ตรงจริตเรา (หรือนิสัยส่วนตัวของเรา) ถ้าเราลุกลี้ลุกลน ไม่ชอบอยู่นิ่ง แล้วไปฝึกเดินจงกรม ฝึกนั่งสมาธิ หลวงพ่อฯ บอกว่าก็คงไม่สำเร็จแน่ชาตินี้ คือเราต้องสังเกตตัวเราก่อนว่าเราเป็นแบบไหน" ตรงนี้ชอบมากมากเลย เหมือนเวลาเราจะปรับปรุงอะไรบางอย่าง เช่นงานของเรา เราก็ต้องศึกษางานนั้นๆ ก่อนว่ามีจุดดีจุดด้อยตรงไหน พัฒนาอะไรเพิ่ิมเข้าไปได้บ้าง หลวงพ่อฯ บอก"ถ้าเราเป็นคนสนใจกาย รักสวยรักงาม ดูกระจกบ่อยๆ เราก็ต้องไปฝึกดูกาย สังเกตกายไป แต่ถ้าเราเป็นคนใช้ความคิดเยอะ์ พวกชอบคิดมาก ก็ต้องฝึกแยกจิต ความรู้สึก อารมณ์ แยกขันธ์ ให้ดูให้รู้ว่า จิตเรารู้สึกยังไง ปล่อยไปอย่าไปขัดขวาง อย่าไปกดจิตไว้ แต่ต้องมีสติตลอดเวลา แล้วจะรู้ว่า จิตมันไปได้แต่มันจะไปไม่นานหรอก เหมือนเราโกรธ แต่จะหายได้เร็ว"
ครั้งนี้มีความประทับใจอีกอย่างนึงก็คือ ได้เจอพี่กรรณิการ์คนเดิมนั่งรถคนเดียวกันมา ได้มีโอกาสนั่งใกล้กันจึงได้มีแว่บนึงที่พี่เค้าหันมาบอกว่า "ในช่วงที่เรามีความสุข เราแทบจะมองไม่เห็นอะไรเลย ต้องลองดูตอนที่เรามีความทุกข์ หดหู่ เศร้าใจ หรือมีกิเลสหลายๆ ตัว น่ะ ถึงจะมองเห็นชัด จนบางทีตัวเราเองก็กลัวเหมือนกันว่า ฉาำกสังคมที่เราเคยเป็นเราปิดบังกิเลสเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาหรือ" รู้สึกว่าเห็นด้วยจริงๆ ค่ะ ต้องเรียกว่า ภาวะเข้มข้นของจิต ถึงจะแยกออก อาจจะเปรียบเทียบได้เหมือนรสชาติที่ลิ้นรับรู้ ถ้าเราใส่เครื่องปรุงทุกอย่างเท่าๆ กันหมด รสออกมาอร่อยเชียว แต่ถ้าเราเพิ่มน้ำปลาลงไปอีกสัก 2-3 ช้อนเราจะรับรู้รสเค็มได้มากที่สุดเลย ก็คงเหมือนกิเลสตัวใดตัวหนึ่งออกมาอย่างชัดเจนเราถึงจะเห็นมันได้ไง :)
ขอขอบคุณภาพจาก palungjit.com