Friday, November 10, 2023

อยุธยา เมืองท่องเที่ยวแบบเต็มตัว

 อยุธยา เมืองท่องเที่ยววันนี้ ด้วย Soft Power เกิดขึ้นได้จริง 

การไปเที่ยวเมืองอยุธยา ช่วงสงกรานต์ ปี 2562 เป็นครั้งที่มีเป้าหมายพาครอบครัวไปเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ พ่อจะได้ไปด้วยกันได้แบบไม่เหนื่อยมาก ครั้งนั้นขับรถผ่านในตัวเมือง ไม่เห็นนักท่องเที่ยวมากมาย แต่ตลาดตอนกลางคืนเรียก ตลาดประชารัฐ จัดที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเวทีแสดงศิลปะไทยเป็นรอบๆ รัฐอุดหนุนจัดเป็นพื้นที่ตลาดให้กับคนในเมืองเข้ามาขายอาหาร สินค้าพื้นเมือง ในมุมมองของนักท่องเที่ยวอย่างเราน่าเที่ยวน่าเดิน 

แต่วันนี้ ปี 2566 พื้นที่ตลาดนั้น ไม่มีจัดละ การมองตลาดในแบบ Demand ไม่ใช่ ตลาด physical แบบ Market ถ้ารัฐเปลี่ยนที่จัดไปเรื่อยๆ และชุมชนในเมืองที่ขายของให้กับนักท่องเที่ยว ก็เวียนไปเปิดตลาด ณ ที่จัดได้ จะดีมาก สำหรับในปีนี้ ตลาดนักท่องเที่ยว พบได้ที่งาน Music of World Heritage Ayutthaya ที่วัดมหาธาตุ มุมหนึ่งในพื้นที่สวนสาธารณะบึงพระราม และมางานดนตรีเพราะงานดนตรีจริงๆ





  • การเตรียมตัวไปเที่ยวอยุธยารอบนี้ ปักหมุดไว้ก่อน นอกจาก Love Destiny season 2 กำลังฉาย พบว่า กิจกรรมทำบุญตักบาตรเทโว ที่วัดไชยวัฒนาราม คึกคักมาก จึงแถมด้วยการรีรัน  Love Destiny season 1 ใน Netflix ไปด้วย หาหลายที่เจอแบบสนุกดีเหมือนเล่นเกมส์ แต่หาบางที่ไม่เจอ เช่น คลองขุนละคร ที่มีโรงละคร โรงน้ำชา 😆เจอแต่ชื่อถนนที่คล้ายๆ กัน

  • ข้อดีของการท่องเที่ยวอยุธยารอบนี้คือ ผู้ร่วมทริปคือเพื่อนชาวยุโรป เริ่มต้นทริปก็คุยกันถึงช่วงล่าอาณานิคมสนุกสนาน ดังนั้น นอกจากสถานที่จะน่าสนใจตามประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งคือสิ่งใหม่ แวะได้หมด และอยากรู้ อยากลองทุกเรื่อง 
  • จึงเริ่มจากวัดตอนพระอาทิตย์ตกดิน 🌅
    • รู้แค่ว่าอยากเดินเที่ยววัดไทยตอนที่ไม่ร้อน จะได้เหมือนเดินเที่ยวสิงคโปร์ได้เกือบ 24 ชั่วโมง แต่วัดและโบราณสถานแทบทุกที่ปิดตอน 18.00 น. ประสบการณ์คือ ไฟประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม จึงยังคงอันตรายในจุดที่เรามองไม่เห็น เพราะโบราณสถานประกอบด้วยซากอิฐที่เหลืออยู่ จึงมีความขรุขระ เป็นหลุม และหลายจุดย่อมไม่มีรั้ว ทุกคนที่เดินจึงเอาตัวรอดด้วยไฟฉายประจำตัวที่มากับโทรศัพท์ตัวเอง
    • บางจุดที่มีค้างคาว มากลางวันเห็นแต่ป้าย พอตกกลางคืน ค้างคาวบินเป็นฝูงภายในเจดีย์เช่นเดียวกันนกบนท้องฟ้าแคบ ถามว่า อยากสัมผัสประสบการณ์หรือไม่ ชาวต่างชาติของเราตอบว่า I don't want to be a Vampire 👹















  • กิจกรรมยามเช้า
    • ใส่บาตร มีมุมมองใกล้ที่พัก คนท้องถิ่นแนะนำแบบมีที่จอดรถ ให้ไปที่ตลาดหัวรอ (ตลาดเจ้าพรหม ไม่มีที่จอดรถ) และเหมาะกับนักท่องเที่ยวที่จะซื้อของใส่บาตรสะดวกเลย ดังนั้นกิจกรรมยามเช้าจึงเริ่มที่นี่
    • ตามความจริงคือ ตั้งแต่ search เจอว่า วัดพุทไธสวรรค์ พระอารามหลวงอยุธยา มีใส่บาตรแบบพระพายเรือมาเช้า พายกลับวัด 7AM ถามคนท้องถิ่นตลอดทาง คำตอบคือปัจจุบันไม่มีแล้วค่ะ
    • อีก search ช่วงน้ำท่วม (Flooding) ปี 2564 ปรากฎว่าอยุธยดังมากเรื่องใส่บาตรเรือพาย เพราะมีนักท่องเที่ยวนั่งเรือใส่บาตร เด็กๆ พายเรือรับจ้างได้เที่ยวละ 100 บาท OMG! การปรับตัวอย่างยั่งยืนแบบอยู่กับน้ำท่วมได้เช่นนี้เป็นเรื่องดีมาก ได้ค่าจ้าง ดำเนินชีวิตได้ และนักท่องเที่ยวก็ได้ประสบการณ์อีกแบบ แต่ถึงขั้น Adaptation หรือไม่ คงต้องศึกษานิยามก่อนค่ะ 
    • มีการรับจ้างพายเรือแบบไปกลับระหว่างพื้นที่ใหญ่ (Mainland) และเกาะกลางน้ำ เรียกว่า "เกาะลอย" ถ้าใช้ชีวิตอยู่อยุธยาก็ควรจะพายเรือเป็นหน่อยนะ เพราะที่เรือพายรับจ้างอยู่คือ ขึ้นมา 1 คน ต้องช่วยคนรับจ้างพายด้วย ดูท่าจะพายไม่ไหว แต่ถ้าขึ้นมา 2 คน ใช้ฝีพายแค่ 2 คน ยังพอไหว เนื่องจากมีน้ำวนจากหลายทิศทาง กระแสน้ำจึงเชี่ยวมากที่เกาะลอย
    • มุมมองแบบคนท้องถิ่น เจอตลาดสด ตลาดท้องถิ่นเหมือนจะเป็นของมือสอง ตลาดพระเครื่อง และอาหารเช้าที่หาได้ระหว่างทาง มีไข่ลวก กาแฟโบราณ แบบริมน้ำ


    • กิจกรรมกลางวัน 
      • ลองขี่ช้าง iconic ของประเทศไทยกันเลยทีเดียว อัตราสำหรับชาวต่างชาติ 2 ชั่วโมง 400 บาท , 1 ชั่วโมง 200 บาท ทั้ง 2 แบบคนไทย 100 บาท พบว่าช้างที่นี่พอมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะ ช้างดูสุขภาพดี เวลาเดินผ่านรั้วเพนียด มีช้างหยุดเล่นกับนักท่องเที่ยวแบบเชื่องมากน่ารักดี อยากให้ช้างสุขภาพดีตลอดไป แต่เข้าใจเลยว่า ช้างกินน้ำและอาหารเยอะมาก คนดูแล ควานช้างต้องผ่านประสบการณ์ช่วงโควิดอย่างโหดจริง

         
      • การเลือกร้านกาแฟ และร้านอาหาร ก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ใช้การเลือกแบบ Vote  พบว่า ตาม option น่าสนใจ พบเลยว่า Generation มี Gap จริง เด็กชอบอะไรที่รูปแบบการวางขนาดเสกลไม่ปกติ เด็ก Gen Z เลือกก๋วยเตี๋ยวชามยักษ์ ที่ชามเดียวกินได้ทั้งบ้าน แต่ส่วนใหญ่ในทริปเป็น Millennium Generation เลือกจากภาพสวย 555 สรุปโดน Google หลอกว่าร้านเปิด เหตุการณ์นี้เคยเจอบ่อยๆ ใน Wongnai เพราะข้อมูลไม่อัพเดทหลังช่วงโควิด ท่าทางยุค AI ต้องเข้าละ คัดกรองข้อมูลช่วงก่อนและหลังโควิดก่อนเลย แอปจึงจะกลับมาเวิร์คอีกครั้ง
        ร้านนี้มีหนังสือน่าอ่านเยอะทีเดียว






      • สิ่งที่คิด คือ Soft Power มาหรือไม่ แต่ที่เราเห็นตอนแรก มีแต่คนไทยนะที่เปลี่ยนชุดไทยถ่ายรูป เดินเที่ยว ที่วัดไชยวัฒนาราม เห็นชาวต่างชาติน้อย เมื่อถามว่า                                                Q: Would you like to dress in Historical Thai?  A: Yes I'd like to try it on                            หลังจากนั้น พบว่า มีหลายคนเข้ามาถ่ายรูปกับเพื่อนต่างชาติ มีทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ จึงเห็นอีกมุมว่า Soft Power เมื่อคนไทยช่วยกันเริ่มก่อน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็สนุกในการทำกิจกรรมร่วมกับคนไทยเป็น Next Wave หรือยิ่งถ้า ทุกคนใส่ชุดไทยเข้าวัดไชยฯ ได้ คงถ่ายรูปได้ง่ายและสวยย้อนยุคมากทีเดียว ....พัชรกล่าวไว้ ในฐานะคนถ่ายรูป ที่ต้องหามุมหลบไปหลบมาอยู่หลายรอบ





      • ท่าประจำบู


    • ก่อนขับรถกลับ กรุงเทพฯ ช่วงสัปดาห์งานบุญทอดกฐิน



       


      • แวะเติมกาแฟ ทำให้ไม่ง่วงหลับ และชวนคนขับคุยได้ตลอดทาง  จบทริปแบบได้สอนเด็กอีกเรื่องก่อนกลับถึงบ้าน คุ้มค่ามากค่ะ 😊


    Monday, October 12, 2020

    เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง... 11 ปีผ่านไป

     กว่าจะได้เริ่มต้นบรรยากาศวัดป่าแบบที่เคยเจอเมื่อครั้งไปวัดป่าครั้งแรก อีกครั้ง

    สิ่งที่ละเอียดขึ้นจากทริปครั้งนี้

    ณ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก                         

    รู้สึกทางโลก


    • ห้องน้ำ เป็นเรื่องแรกที่สะกิด ทั้งวัดบน (วัดป่าบ้านมูเซอสามหมื่นทุ่ง) และวัดล่าง (สำนักสงฆ์วัดสุทธิธรรมมงคล-วัดห้วยไคร้) วันงาน คนเข้าร่วม 300-400 คน ห้องน้ำประมาณ 20 ห้อง (รูปที่ 1) ออกแบบให้ทั้งอาบน้ำได้ด้วย พบว่า วันงานกฐิน 11, 12 ตุลาคม 2563 ห้องน้ำเต็ม(ส้วมอุดตัน) ทั้งหมด ...กิจกรรมของมนุษย์ที่ไปทำบุญแล้วกลับ ...ภาระเรื่องนี้ก็กลายเป็นของสงฆ์นะสิ 😢
    • การกิน ใช้จานที่ตักข้าวใส่บาตรแล้ว นำมาทานอาหารเช้าต่อ อันนี้กระบวนการดี แต่ไม่ได้ให้แต่ละคนล้างจานเอง แต่ชาวดอยมูเซอมาช่วยพระ (ผู้จัดทริปว่าอย่างนั้น) อันนี้ ก็ยังทำให้คนในเมือง แยกงานนี้ไว้ให้คนดอยอยู่ดี การอยู่ให้สมบูรณ์ที่สุดของกิจกรรมในวัด เมื่อเราทำให้เกิดอะไร (จานสกปรก) เราต้องทำให้ดีเหมือนเดิม (ล้างจานผึ่งเอง) เพื่อให้คนข้างหลังใช้ได้ต่อ และไม่ทิ้งขยะจากเราให้เป็นภาระของสงฆ์ ทั้งที่ พอจ. เชาวน์ เทศน์ในเรื่องนี้ว่า ใครมาทำบุญ แล้วรีบกลับบ้าน เก็บแต่ส่วนบุญ อันนี้ท่านขอว่า "อย่ามาเลย" 😐 เคสนี้คงต้องอาศัยการสร้างระบบ ฆราวาสน่าจะพร้อมทำ
    • ในส่วนของโรงทาน ถือว่า มีความลงตัวมาก พอดีกับผู้เข้าร่วมทำบุญ #DemandmatchSupply 👍 
    • การนอน ถ้ามาช้าหน่อย จะมีหลังคา ที่ผ้าเต้นท์ผูกไว้กึ่งหนึ่งให้เดินเข้าออกได้ ระยะกว้างของแต่ละคนก็ 1 วาของคนนั้น และเรียงติดกัน (รูปที่ 2) ผลพบว่า เช้าขึ้นมา บางคนอาจนอนไม่ค่อยหลับ เกิดอาการเพลีย ...เรียกว่า สภาวะทางโลกยังไม่ได้จัดให้สบาย ปลอดโปร่งอย่างเพียงพอ ถ้าพักตรงนี้ น่าจะปฏิบัติภาวนาได้ยาก และอยู่ไม่ได้นานเพียงพอ
    • อีกสถานที่โดยรอบมหาเจดีย์ศรีสามหมื่นทุ่ง มีให้กางเต้นท์ได้ทั้งใน และนอกอาคาร ห้องน้ำมีอยู่ในระยะเดินถึงและใช้ไฟฉาย (รูปที่ 3)  ตรงนี้มีความสงบเพียงพอ หลับได้สนิทเต็มที่ กรณีตอนกลางวันก็สามารถเดินไปกลับ ศาลา-เจดีย์ ได้สบาย (รูปที่ 4) แต่ช่วงค่ำ มีฆราวาสที่ภาวนาเป็นประจำ ยินดีที่จะอำนวยความสะดวก ในเรื่องการขับรถไปกลับ ศาลา-เจดีย์ หาเครื่องนอนให้ แนะนำที่พัก ...ได้ยินชื่อเรียกกันว่า พี่ธีป ขออนุโมทนาบุญอย่างสูง                                                                                    

      รูปที่ 1 ห้องน้ำ ณ วัดบน

      รูปที่ 2 ที่นอน ณ วัดบน บริเวณศาลาฯ
      รูปที่ 3.1 มหาเจดีย์ศรีสามหมื่นทุ่ง
       
      รูปที่ 3.2 สถานที่กางเต้นท์ทั้งในและนอกอาคารโดยรอบมหาเจดีย์ฯ


      รูปที่ 4 ระหว่างทางเดินจากศาลา ไปยัง มหาเจดีย์ฯ ช่วงเย็น


    รู้สึกทางธรรม


      รูปที่ 5 เหล่ากัลยาณมิตร
    • เสียงจาก กัลยาณมิตร ผู้จัดทริป-พี่จุ๋ม ผู้ชวนมาร่วมบุญ-พี่ดวงเพ็ญ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การที่เราได้เดินทางมาครั้งนี้ด้วยกัน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และกัลยาณมิตรผู้ร่วมเดินทาง ตั้งแต่เริ่มเมื่อ 11 ปีที่แล้ว และยังคงชวนกันปฏิบัติต่อเนื่อง (รูปที่ 5)
    • สิ่งที่ได้ยินจากผู้มาปฏิบัติเป็นประจำ กลุ่มรถบัสคันเดียวกัน มีในแง่ความศรัทธาที่ว่า มีความผูกพันกับสถานที่นี้พอสมควร เรื่องนี้เรียกว่ารู้สึกทางธรรมได้หรือไม่ 😕 ต้องรอพิสูจน์กันต่อไป ขึ้นกับอะไรถึงก่อน จิต หรือ เวลา 
    • ได้สนทนาธรรมด้านสภาวะจิต ช่วงใกล้ภวังค์ กับกัลยาณมิตร 2 ท่านได้อย่างเปิดเผย แสดงว่า น่าจะสัมผัสสภาวะเช่นเดียวกัน มีคอมเม้นท์ในทางที่ก้าวหน้ามากกว่าที่ตัวเราเคยรู้สึกได้ เป็นสิ่งที่น่าปฏิบัติต่อเนื่องเป็นอย่างยิ่ง
    • สุดท้าย สถานที่ ณ จังหวัดสกลนคร เกิดขึ้นเป็นคำศัพท์ใหม่ในทางธรรม ที่รอจังหวะที่เหมาะสม จักเกิดขึ้นเอง     
    เกร็ดเรื่องอื่น บันทึกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ 
      รูปที่ 6 มหาเจดีย์ศรีสามหมื่นทุ่ง
    • พระอาจารย์ เชาวน์ เจ้าอาวาส บอกว่า พระธาตุลงมาที่นี่  ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 ตรงบริเวณที่เป็นมหาเจดีย์ฯ ในปัจจุบัน (รูปที่ 6)
    • เรื่องเล่า จากพี่จุ๋ม ผู้ปฏิบัติงานของ กฟผ. จากฝ่ายสำรวจ ชื่อว่าพี่แจ้ เข้ามาพัฒนาโครงการสายส่ง บริเวณนี้ และได้เข้าพักที่วัด หลังจากนั้น ได้ร่วมบุญโดยการบริจาค การทอดกฐิน ช่วยประชาสัมพันธ์ การก่อสร้างวัตถุสถานภายในวัดแห่งนี้ จนมาถึงปัจจุบัน
    • ระยะทางจากวัดล่าง ขึ้นดอยไปวัดบน 18 กม. ใช้เวลานั่งโยกอยู่ในรถ 1.5 ชั่วโมงขาขึ้น ส่วนขาลงประมาณ 1 ชั่วโมง ปัจจุบัน ชาวเขา เป็นผู้ขับรถจะปลอดภัยดี ในกรณีที่เราขับเองจะไม่คุ้นทาง และมีโค้งอันตรายอยู่มาก...พี่จุ๋มเรียก โค้งแสบ (วิดีโอ)
    • ไอเดียพี่ผู้มีถิ่นฐานอยู่สวิตเซอร์แลนด์ " ถ้าต่างประเทศในยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ทางถนนนี้จะมีงบประมาณทำให้เข้าถึงได้ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกได้ไม่ยาก เพราะธรรมชาติยังคงงดงามมากจริงๆ"
    • วัดบนใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำ ปี 2555 พัฒนาโครงการโดยชุมชนร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน วัดล่าง ใช้พลังงานจากโซล่าเซล์ ด้วยเงินบริจาค กฐินร่วมบุญ คน 2 การไฟฟ้า กฟผ. กฟภ. ร่วมกันติดตั้ง พระอาจารย์ใช้แรงงานพระ และลูกวัดช่วยกันขนเสาไฟฟ้า 1 รถบรรทุกขนได้ครั้งละ 2 ต้น ช่วงก่อสร้าง ต้องมีการนอนกลางทางขึ้นดอยกันบ้าง
    • รอบนี้ ขาขึ้นดอย อากาศดีมาก มีแค่ฝนปรอยเล็กน้อยช่วงก่อนขึ้น ซึ่งทำให้ไม่มีฝุ่นตลอดทาง และก็ไม่มีแดดทั้งวันด้วย แต่ขาลงดอย ไม่เป็นเช่นนั้น และลงหลังจากงานกฐิน ประมาณเที่ยงๆ ถึงบ่าย คนนั่งรถกระบะช่วงท้าย มีป่วยกันได้ อย่าประมาทนะคะ
    • ประวัติพื้นที่ การปลูกฝิ่นของชาวดอย การสร้างสมดุล คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ การสร้างตลาดมูเซอให้เกิดรายได้ การจัดสรรพื้นที่ให้ชุมชนทำการเกษตร โดยเริ่มมีผู้นำทีมละ 10 คน อ่านต่อ

                                                                                                                
      รูปที่ 7

    ในส่วนของเรื่องเล่า ผู้เขียนไม่สามารถพิสูจน์อ้างอิงได้ โปรดใช้วิจารณญาณด้วยประสบการณ์ของผู้อ่านเอง
    • ความศรัทธาเรื่องพญานาค ว่าเป็นเทวดารูปแบบหนึ่ง ที่เคยแวะเวียนมาที่นี่ (รูปที่ 7)
    • เทวดาสามารถเข้ามาร่วมงานบุญกับเราได้ ถ้าละเอียดพอ จะสังเกตเห็น ไม่สุงสิงเรื่องทางโลก สุภาพ
    สุดท้าย เป็นความประทับใจ เกร็ดเล็กน้อยของผู้จัดทริปให้พวกเรา
    • ถือเป็นการจัดทริปที่ ผู้จัดมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการสร้างบุญ และจัดเพื่อให้เราได้ร่วมด้วย 
    • การเก็บเงิน มีการให้คืนเพื่อใช้ในร้านอาหารหนึ่ง เพื่อให้เราเลือกเมนูที่ชอบด้วยตัวเราเอง 
    • พี่ผู้จัดทริป เลี้ยงอาหารเราทุกคนในมื้อเที่ยงของวันแรกที่เดินทาง ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    • การแวะพักระหว่างทาง เป็นไปอย่างเพียงพอ และไม่ได้เร่งรีบ ให้ลูกทัวร์ลำบากใจ แต่ยังสามารถควบคุมเวลาตามกำหนดการได้อย่างเป๊ะ ***อันนี้สำคัญ***👍
    • การควบคุมกระบวนการระหว่างการนับเงินกฐิน ฟังพี่จุ๋มเท่านั้น เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีผู้นำชัดเจน
    • คนขับรถบัส ทำงานได้อย่างดีมาก ในการขับรถในเวลาช่วงเช้ามืดผ่านเขาหลายลูก แต่ไม่มีความกังวลใดๆ ต่อผู้โดยสารตลอดเส้นทาง
    • มีการแวะจุดท่องเที่ยว ถ้ำสีฟ้า ช่วงบ่ายที่มีเวลา เลือกร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ ร้านข้าวเม่า ข้าวฟ่าง
    • และที่ขาดไม่ได้เลย ยังหาร้านกาแฟมูเซอ สวยๆ บรรยากาศชิลล์ๆ ให้ลูกทัวร์อีกด้วย อันนี้ประทับใจสุดค่ะ 😀  
    หลังจากเรียนรู้เรื่อง Data Privacy จากน้องภา แล้วก็ไม่ค่อยมีรูปคนอื่นๆ สักเท่าไหร่นะคะ 😉